วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่7


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 26 02 2558
เรียนครั้งที่ 6 เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี






                                                  วันนี้สอบกลางภาคค่ะ





บันทึกอนุทินครั้งที่6


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 19/02/58
เรียนครั้งที่ 6 เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี



 วันนี้หนูไม่ได้มาเรียนค่ะลากับต่างจังหวัดไปงานบวช น้องชายค่ะ

บันทึกอนุทินครั้งที่5

บันทึกอนุทินครั้งที่5
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20



ความรู้ที่ได้รับ

ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้ให้ถุงมือคนล่ะข้างแล้วให้ใส่ในข้างที่ไม่ถนัดแล้วให้วาดรูปมือของตัวเองว่าเรสจะจํามือเราได้ไหม มือนี้อยู่กับเรามาก็หลาย10ปีใส่ถุงมือเพื่อไม่ให้แอบดู แล้วก็เข้าสู่บทเรียน

 การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ


ทักษะของครูและทัศนคติ

การฝึกเพิ่มเติม
  • อบรมระยะสั้น สัมมนา
  •  สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
  • ครูต้องเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
  •  รู้จักเด็กแต่ละคน
  •  มองเด็กให้เป็น ''เด็ก''การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า 
  • การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
  • วุฒิภาวะ
  • แรงจูงใจ
  • โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
  • .ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
  • เด็กเข้าหาครูมากเท่าไรยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
  • ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
  • ครูต้องมีความสนใจเด็ก
  • ครูต้องมีความรู้สึกดีต่อเด็ก
  • ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
  • ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
อุปกรณ์
  • มีลักษณะง่ายๆ
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
ตารางประจำวัน
  • เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่ประจำ
  • กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
  • เด็กจะรู้สึกและมั่นใจ
  • คำนึงความพอเหมาะของเวลา
การใช้สหวิทยาการ
  • ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้
  • เด็กทุกคนสอนได้
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการใช้แรงเสริม
  • ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
  • มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็กและมักเป็นผลในทันที
  • หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงหายไป
วิธีการแสดงออกถึงแรงจากผู้ใหญ่
  • ตอบสนองด้วยวาจา
  • การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
  • สัมผัสทางกาย
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  • ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
  • ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท
  • ย่อยงาน
  • ลำดับความยากง่ายของงาน
  • การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • วิเคราะห์งานกำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละชิ้น
  • สอนจากง่ายไปยาก
  • ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
การกำหนดเวลา
  • จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องการมีความเหมาะสม
การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • ครูจะงดแรงเสริมเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
  • เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ด
รูปที่ทํากิจกรรม





ประเมินในชั้นเรียน

ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา และตั้งใจทํางานที่ได้รับมอบหมายถึงงานวาดรูปหนูจะไม่ถนัดแต่หนูก็ตั้งใจทําอย่างเต็มที่ค่ะ
เพื่อน : ตั้งใจทำงาน  ช่วยกันตอบคำถามและตั้งใจเรียนปกติจะอยากเลิกเรียนเร็วแต่วันนี้อยากเลิกเรียนช้า
อาจารย์ : อาจารย์ได้สอน บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม และยกตัวอย่างบทบาทความเป็นครูปฐมวัย

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทินครั้งที่4

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20


ความรู้ที่ได้รับ


               ในสัปดาห์ที่4นี้อาจารย์ก็ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม แต่ก่อนเข้าสู้การเรียนการสอนก็มีกิจกรรมมาให้ทําก่อนคือการวาดรูปดอกหางนกยูงโดยวาดให้เหมือนที่สุด ต่อมาก็ให้อธิบาย บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม อาจารย์ก็ได้อธิบายได้อย่างละเอียดพร้อมยกตัวเอง เช่น


1. ครูไม่ควรวินิจฉัย



  •  การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง


  • จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดก็ได้ครูไม่สามารถรู้อาการที่เด็กแสดงออกมา


  • ได้ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้วินิจฉัย



2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก

  • เกิดผลเสียมากกว่าผลดี


  •  ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป

3. ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ


  • พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญญญ

  •  พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว

  •  ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ



4. ครูทำอะไรบ้าง


  • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ


  •  สังเกตเด็กอย่างมีระบบ


  • จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ


5. สังเกตอย่างมีระบบ


  •  ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่า
  •  ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆช่วงเวลายาวนานกว่า
  • ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลีนิค มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

6. การตรวจสอบ

  • จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
  •  เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น

7. ข้อควรระวังในการปฎิบัติ

  •  ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
  •  ประเมินและให้น้ำหนักของความสำคัญเรื่องต่างๆได้


8. การบันทึกการสังเกต
  • การนับอย่างง่ายๆ
  • การบันทึกต่อเนื่อง
  •  การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

9. การนับอย่างง่ายๆ

  •  นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
  • ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม


10. การบันทึกต่อเนื่อง

  •  ให้รายละเอียดได้มาก
  •  เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง


11. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

  •  บันทึกลงบัตรเล็กๆ

12. การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป



  • ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
  •  พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ


13. การตัดสินใจ


  • ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  •  พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่


รูปที่ทํากิจกรรม








บันทึกอนุทินครั้งที่3

บันทึกอนุทินครั้งที่3
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20






            "ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ เนื่องจากวันนี้อาจารย์ไปสัมมนาวิชาการบริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา อาจารย์จึงให้ไปศึกษาหาความรู้นอกห้องนอกชั้นเรียน