วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทินครั้งที่4

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20


ความรู้ที่ได้รับ


               ในสัปดาห์ที่4นี้อาจารย์ก็ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม แต่ก่อนเข้าสู้การเรียนการสอนก็มีกิจกรรมมาให้ทําก่อนคือการวาดรูปดอกหางนกยูงโดยวาดให้เหมือนที่สุด ต่อมาก็ให้อธิบาย บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม อาจารย์ก็ได้อธิบายได้อย่างละเอียดพร้อมยกตัวเอง เช่น


1. ครูไม่ควรวินิจฉัย



  •  การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง


  • จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดก็ได้ครูไม่สามารถรู้อาการที่เด็กแสดงออกมา


  • ได้ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้วินิจฉัย



2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก

  • เกิดผลเสียมากกว่าผลดี


  •  ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป

3. ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ


  • พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญญญ

  •  พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว

  •  ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ



4. ครูทำอะไรบ้าง


  • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ


  •  สังเกตเด็กอย่างมีระบบ


  • จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ


5. สังเกตอย่างมีระบบ


  •  ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่า
  •  ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆช่วงเวลายาวนานกว่า
  • ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลีนิค มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

6. การตรวจสอบ

  • จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
  •  เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น

7. ข้อควรระวังในการปฎิบัติ

  •  ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
  •  ประเมินและให้น้ำหนักของความสำคัญเรื่องต่างๆได้


8. การบันทึกการสังเกต
  • การนับอย่างง่ายๆ
  • การบันทึกต่อเนื่อง
  •  การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

9. การนับอย่างง่ายๆ

  •  นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
  • ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม


10. การบันทึกต่อเนื่อง

  •  ให้รายละเอียดได้มาก
  •  เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง


11. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

  •  บันทึกลงบัตรเล็กๆ

12. การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป



  • ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
  •  พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ


13. การตัดสินใจ


  • ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  •  พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่


รูปที่ทํากิจกรรม








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น